หาก
ไม่เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ก็ไม่รู้เลยว่าประเทศไทยเป็น
"มหาอำนาจทางอุตสาหกรรม" ตัวจริงเสียงจริง เฉพาะอย่างยิ่ง
"ดีทรอยต์แห่งเอเชีย" เพราะหลังจากน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม 7
แห่งที่อยุธยาและปทุมธานีจมมิดก็เริ่มแผลงฤทธิ์
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ได้รับผลกระทบทั่วโลก
ล่าสุด
บริษัทโตโยต้า แม้ไม่มีโรงงานอยู่ในนิคม 7 แห่งนี้ ก็โดนหางเลขไปเต็มๆ
เพราะโรงงานชิ้นส่วนที่เป็นซับพลายเชนต้องปิดโรงงานป้อนให้ไม่ได้
กระทบชิ่งไปยังโรงงานโตโยต้าที่ญี่ปุ่นต้องลดกำลังการผลิตวันละ 6 พันคัน
ลดโอที คนงานเหลือเวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง
ยิ่งน่าตกใจที่
วิกฤตนี้ลามไปไกลถึงโรงงานโตโยต้าในสหรัฐ และแคนาดา ตั้งแต่อินเดียนา
เคนตักกี้ เวอร์จิเนีย รวมถึงโรงงาน ที่เมืองออนตาริโอ แคนาดา
หยุดผลิตทั้งหมด เพราะโรงงานชิ้นส่วน บ้านเราเป็นฐานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ถึง
100 รายการที่ป้อนให้โตโยต้าทั่วโลก
สำหรับแคนนอนกรุ๊ปที่จมน้ำ
ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตหมึกพิมพ์ไปเวียดนามเรียบร้อยแล้ว
เช่นเดียวกับกระแสข่าวว่าบริษัทผลิตไมโครชิพรายใหญ่ของโลกจากสหรัฐที่มีฐาน
ผลิตในเมืองไทย
รวมถึงบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่รายหนึ่งของญี่ปุ่นที่หงุด
หงิดกับการแก้ปัญหาของไทยเปิดเผยสื่อมวลชนว่ากำลังจะตัดสินใจ
ย้ายฐานผลิตไปอยู่เวียดนามแล้วเหมือนกัน
ขณะที่ "คริสโตเฟอร์ คีฟ"
ของนิสสันก็บอกว่า
บทเรียนจากวิกฤตสึนามิถึงวิกฤตน้ำท่วมในประเทศไทยทำให้รู้ว่าต้องกระจายซับ
พลายเชนชิ้นส่วนยานยนต์ไปในหลายๆ พื้นที่
เป็นเรื่องเข้าใจได้หาก
นักลงทุนญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตบางส่วนกระจายไปลงทุนในเวียดนาม
หรือในอาเซียนเป็นการกระจายความเสี่ยง
และคู่แข่งอย่างเวียดนามก็คงจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะหาทางดึงนักลงทุนจาก
ประเทศไทยกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในเวียดนามแทน
ต้องยอมรับว่า
เวียดนามก็มีข้อดีกว่าเราหลายอย่าง แรงงานที่ขยัน
การตัดสินใจของรัฐบาลเด็ดขาด รวดเร็ว และยอมประเคนสิทธิประโยชน์ให้เต็มที่
แม้จะมีคำปลอบใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นจะไม่ทิ้งไทยเพราะซาบซึ้งน้ำใจ
ที่ช่วยเหลือญี่ปุ่นในคราวเกิดสึนามิก็ตาม
แต่ก็เข้าใจได้ว่าความอยู่รอดธุรกิจต้องมาก่อนไม่มีใครเอาธุรกิจมาเสี่ยง
ตราบใดที่ยังไม่มั่นใจว่ารัฐบาลป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในอนาคต
แค่
น้ำตา คำขอโทษ หรือไปโรดโชว์ชักชวนอย่างไร
คงไม่เพียงพอทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความเชื่อมั่น
อาจจะต้องคิดถึงขั้นย้ายนิคมในอยุธยา
ปทุมธานีที่ขวางทางน้ำไปอยู่ในพื้นที่ดอน ขุดลอกคลองบึง
จัดระเบียบผังเมืองใหม่ รวมถึงต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด
หากปล่อยให้กลับไปเหมือนเดิม นักลงทุนคงหนีหมดแน่ๆ
ที่มา: ข่าวสดออนไลน์ 3 พ.ย. 54
Subscribe to:
Post Comments
(
Atom
)
0 comments:
Post a Comment