Politics Military Economy Social Information and Infrastructure, Article and Analysis.

EV/EBITDA การประเมินความสามารถในการทำกำไร

 บทความที่แล้วเราพูดถึงการประเมินมูลค่าของกิจการ Enterprise Value หรือ EV ไปแล้ว คราวนี้เรามาทบทวนกันว่าแล้วเราซื้อกิจการตามมูลค่า EV ที่เหมาะสมมาแล้ว บริษัทนี้จะสร้างผลตอบแทนให้เราได้ดีแค่ไหน

EBITDA ย่อมาจาก Earning before Interest Tax Depreciation and Amortization หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย เป็นการคำนวณขีดความสามารถในการทำกำไรล้วน ๆ โดยไม่คำนึงว่าจะเสียภาษี ดอกเบี้ย และบวบกลับค่าเสื่อม ค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง


EBITDA คำนวณ อย่างไร

EBITDA = กำไรสุทธิ + ดอกเบี้ย +   ภาษี + ค่าเสื่อมราคา + ค่าตัดจำหน่าย

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ABC 


EBIDTA นำไปใช้อย่างไร 

การประเมินความสามารถในการทำกำไรมักนำไปเปรียบสัดส่วนต่อมูลค่ากิจการ หรือ Enterprise Value เพื่อเปรียบเทียบว่ามูลค่ากิจการที่เราจะลงทุนซื้อ ณ ราคาที่วิเคราะห์ จะสามารถสร้างผลต่อแทนได้เท่าไหร่ คุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ โดยอาจจะเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกันเพื่อเลือกว่าควรลงทุนในบริษัทใดดี


EV/EBIDTA ยกตัวอย่างเช่น

บริษัท A มี EV เท่ากับ 1 ล้านบาท มีความสามารถในการทำกำไร EBITDA เท่ากับ 5 แสนบาท จึงคำนวณหาค่า EV/EBITDA เท่ากับ 2 เท่า แปลความได้ว่าลงทุนในบริษัท A ใช้เวลา 2 ปี (รอบบัญชี) จึงจะคืนทุน

บริษัท B มี EV เท่ากับ 2 ล้านบาท มีความสามารถในการทำกำไร EBITDA เท่ากับ 5 แสนบาท จึงคำนวณหาค่า EV/EBITDA เท่ากับ 4 เท่า แปลความได้ว่าลงทุนในบริษัท B ใช้เวลา 4 ปี (รอบบัญชี) จึงจะคืนทุน

ดังนั้น EV/EBITDA ที่มีค่าต่ำแสดงว่ามีราคาถูก มีความคุ้มค่า น่าซื้อลงทุนมากกว่าบริษัทที่มี EV/EBITDA ที่สูงกว่า

 

การหาค่า EV/EBITDA ของหุ้นแต่ละตัวสามารถหาได้จากเว็บไซต์ www.set.or.th ในส่วนของสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน หรือ factsheet เช่น หุ้น STANLY https://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/stanly/factsheet  

ข้อมูลในเว็บไซต์จะทำให้เราทราบได้ว่ามีมูลค่ากิจการ EV เท่ากับ 15,499.88 ล้านบาท มีกำไร EBITDA 1,763.67 บาท มีสัดส่วนขีดความสามารถในการทำกำไรต่อมูลค่ากิจการ EV/EBITDA เท่ากับ 4.25 เท่า นั่นก็หมายความว่าหากบริษัท STANLY มีกำไรคงที่ต่อเนื่องทุกปี จะใช้เวลาเพียง 4.25 ปี (รอบบัญชี) เท่านั้นก็สามารถจะคุ้มทุนแล้ว นั่นเอง


 

 ในขณะที่บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เหมือนกันอย่างเช่น SAT มี EV/EBITDA เท่าไหร่ เราลองมาเปรียบเทียบกันดูนะครับ

บริษัท SAT  มีมูลค่ากิจการ EV เท่ากับ 9,860.31 ล้านบาท มีกำไร EBITDA 1,214.31 บาท มีสัดส่วนขีดความสามารถในการทำกำไรต่อมูลค่ากิจการ EV/EBITDA เท่ากับ 6.14 เท่า


 

นั่นก็หมายความว่าหากเราต้องการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ แล้วต้องเลือกว่าจะลงทุนใน STANLY หรือ SAT จะคุ้มค่ากว่า หากใช้วิธีเปรียบเทียบ EV/EBITDA จะพบว่า STANLY ถูกกว่า SAT 

ทั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบจากข้อมูลในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้คำนึงถึงผลกำไรที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตแต่อย่างใด

เพิ่มเติม หากพิจารณาแยกส่วน Earning before Interest, Tax, Depreciation และ Amortization แล้วเราจะพบว่า Interest และ Tax บริษัทต้องจ่ายจริง ๆ ในขณะที่ Depreciation และ Amortization บริษัทไม่ได้จ่ายจริง เป็นการบันทึกทางบัญชี เงินยังหมุนเวียนอยู่ในบริษัท ดังนั้นหากจะดูความสามารถในการทำกำไรจริง ๆ ก็ควรจะตัดเฉพาะ I กับ T ออก เหลือ Earning before Depreciation and Amortization หักออกเฉพาะดอกเบี้ยและภาษี 

แล้วเราจะหาค่า Earning before Depreciation and Amortization ได้อย่างไร

ในรายงานผลประกอบการ หรือใน Factsheet จะบอก EBITDA , Depreciation and Amortization , และ กำไรสุทธิ หรือกำไรที่หัก Interest และ Tax แล้ว หัก Depreciation and Amortization แล้ว 

ดังนั้นหากต้องการหากำไรที่หักดอกเบี้ยและภาษีแต่ไม่หักค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย เราก็คำนวนด้วยการบวกกลับค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย หรือ กำไรสุทธิ + Depre + Amotize ใช่หรือไม่

Share on Google Plus

About Aka

0 comments:

Post a Comment