แนะนำบริษัท
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)
ลงทุนในธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม
โดยมีวิสัยทัศน์คือ ผู้นำการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก
ด้วยความเชี่ยวชาญในการวางแผน การพัฒนา การบริหารจัดการ และการตลาดที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร
คัดสรรทำเลที่ดีสำหรับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า ระบบสาธารณูปโภค
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน
ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนและพนักงานที่ทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม
แนะนำหุ้น
การดำเนินธุรกิจของ AMATA แบ่งเป็นกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม, กลุ่มสาธารณูปโภค, กลุ่มธุรกิจให้บริการในนิคมอุตสาหกรรม
และกลุ่มอื่นๆ
ที่มาของรายได้ก็จะมาจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประมาณ 70%
รายได้ค่าสาธารณูปโภค ประมาณ 20% และรายได้จากการให้เช่าอีก 10%
การแข่งขันในอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เป็นผู้นำทางการตลาดใน
BOI Zone 2
มีความได้เปรียบในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจาก BOI และทำเลที่ตั้งมีศักยภาพในการพัฒนาและขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ใกล้ตัวเมือง
มีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบคมนาคมขนส่ง ใกล้ศูนย์กลางการแพทย์
ใกล้ศูนย์กลางทางการศึกษา และใกล้ศูนย์กลางทางการเงินการธนาคาร
ทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าได้ดี
นอกจากนี้ยังมีบริการครบวงจรให้กับลูกค้าเช่นการดูแลความสะอาด ความปลอดภัย
ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และการอำนวยความสะดวกต่างๆในการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
อย่างไรก็ตามคู่แข่งของ AMATA ก็จะเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในแถบอีสเทิร์นซีบอร์ด
ความเสี่ยง
แน่นอนครับว่าปัจจัยความเสี่ยงของบริษัทย่อมหนีไม่พ้นความวุ่นวายทางการเมือง
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่บริษัทไปลงทุนในประเทศเวียดนาม
ความเสี่ยงจากภาวะทางเศรษฐกิจ
ข้อพิพาททางกฎหมาย ไม่มี
งบการเงิน
งบแสดงฐานะการเงิน
มีสินทรัพย์รวม 22,136.79
ล้านบาท เปลี่ยนแปลงไม่มากจากปีที่แล้ว ที่ดินอาคารและอุปกรณ์เท่าเดิม
ในขณะที่หนี้สินลดลงจาก 12,011.74 ล้านบาทในปี 56 เหลือ 9,921.72 ล้านบาทในปี 57
เมื่อหนี้สินลดลง ก็ต้องไปเพิ่มในส่วนของผู้ถือหุ้น
โดยเฉพาะที่น่าสนใจคือกำไรสะสม 8,817
ล้านบาท
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ยอดขายสุทธิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่รายได้อื่นลดลงอย่างต่อเนื่อง
แสดงว่าธุรกิจหลักยังดีอยู่นะครับ ไม่ได้ไปพึ่งพิงธุรกิจอื่นมากนัก
ค่าใช้จ่ายในการขายก็ลดลงจากปีที่แล้ว ทำให้กำไรสุทธิสูงกว่าปีที่แล้ว โดยยอดขายสุทธิ
7,394.80 ล้านบาท
กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,223.97 ล้านบาท เป็นธุรกิจที่เยี่ยมมาก
กำไรสุทธิสูงถึง 30% ของยอดขาย
กำไรสุทธิ 2.08 บาทต่อหุ้น
เพิ่มขึ้นจากปี 56 (1.42 บาท) ถึง 46%
ราคาหุ้น ณ วันนี้ 17.9
บาท P/E เท่ากับ 8.6 เท่า
งบกระแสเงินสด
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน 2,866.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (2,834.59 ล้านบาท)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนยังเป็นลบ (- 1,576.86 ล้านบาท) หมายถึงยังมีการลงทุนอยู่
แต่เทียบกับปีที่แล้วมีจำนวนเพิ่มขึ้น(ลงทุนน้อยลง) น่าจะมาจากการชะลอการลงทุนหรือมีการลงทุนน้อยลงนั่นเอง
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (-1,378.36 ล้านบาท) ตรงนี้น่าสนใจครับ
เพราะบริษัทได้รับเงินกู้ระยะยาว นำไปจ่ายปันผล และนำไปชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ย ทำให้
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินเป็นลบ
สรุปกระแสเงินสด บริษัทดำเนินกิจการมาครบปีแล้วมีเงินเข้าบริษัท 2,866.76 ลงทุนเพิ่มเพื่ออนาคตในปีต่อไป
1,576.86 จ่ายเงินกู้ ดอกเบี้ย 787.63 ล้านบาท
และปันผลให้ผู้ถือหุ้น 590.73 ล้านบาท
ถ้าเปรียบเป็นบุคคลก็ถือว่าเป็นคนที่น่าคบมาก มีวินัยทางการเงินดีมาก
ทำงานได้เงินมาก็ใช้หนี้เดิม ลงทุนเพิ่มเพื่ออนาคต แบ่งปันให้ผู้ร่วมลงทุนด้วย
น่ารักจริงๆครับ
การจ่ายปันผล
บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)
มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิในแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2538/2539
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ภาวะตลาดของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม และสภาพคล่องของบริษัทฯ ด้วย
(อัตราจ่ายเงินปันผลจะจ่ายจากงบเดี่ยว แต่บริษัทจะงดจ่ายปันผล
หากงบรวมของบริษัทยังมีผลขาดทุนสะสม หรือจ่ายปันผลแล้วกำไรสะสมในงบรวมเปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสม)
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2010 / 2553 บริษัทฯ มีการปันผลทุกปี
ปีละ 2 ครั้ง โดยในปี 56 ปันผลรวม 0.45
บาทต่อหุ้น (จ่าย 20 พ.ค.57 @0.25 บาท, จ่าย 11 ธ.ค.57 @0.20 บาท)
กำไรปี 56 อยู่ที่ 1.42 บาท ปันผล 0.45 บาทต่อหุ้น
คิดเป็น 31% ก็ใกล้เคียงกับนโยบาย
อนาคตบริษัท
บริษัท อมตะฯ
มีการลงทุนเพิ่มเติมในประเทศโดยมีการซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาและมีการขยายการลงทุนไปในประเทศเวียดนาม
เมียนมาร์ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คำแนะนำผู้ลงทุนศึกษาเพิ่มเติม
การลงทุนมีความเสี่ยง ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
โดยเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับงบการเงินในแต่ละรายการ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
0 comments:
Post a Comment