Politics Military Economy Social Information and Infrastructure, Article and Analysis.

สรุป SPCG จาก OPP Day Q2 2021


 

สรุปจาก Oppday Q2/2021 บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) SPCG เมื่อ 26 ส.ค.64
บรรยายโดยคุณพิพัฒน์ วิริยธรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน

อัพเดตโครงสร้างบริษัทในเครือ มีทั้งหมด 42 บริษัทย่อย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสนี้




พัฒนาการบริษัทมีการจดทะเบียนในปี 2005 แล้วเริ่มขอใบอนุญาตทำ Solar farm ในปี 2007 จากนั้นก็พัฒนาโครงการ Solar farm และทำ COD (วันจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ Commercial Operation Date) ในปี 2010 

ในปี 2013 เริ่มต้นธุรกิจ Solar Roof เป็นธุรกิจใหม่
ในปี 2014 ก่อสร้าง Solar farm ทั้ง 36 แห่งกำลังการผลิต 260 MW 
ในปี 2018 เริ่มขยายธุรกิจไปญี่ปุ่นในเมือง Tottori กำลังการผลิต 30 MW
ในปี 2020 ขยายธุรกิจลงทุนเพิ่มในเมือง Ukujima ญี่ปุ่นกำลังผลิต 480 MW และขยายการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ขนาด 500 MW

บริษัทกำหนดเป้าหมายในปี 2037 หรืออีก 16 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีกำลังการผลิตด 5,000 MW


โดยสรุปภาพรวมธุรกิจยังคงทำในเรื่อง Solar Farm, Solar Roof, Steel Roof หรือหลังคาเหล็กรีดร้อน แล้วก็ เป็นผู้แทนจำหน่ายและให้บริการของ SMA จากเยอรมัน


ในส่วนภาพรวมของหุ้น SPCG มีทุนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1,153,189,000 บาท มีสัดส่วนการถือหุ้นตามภาพ

การจ่ายเงินปันผล มีการจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายที่บริ๋ัษัทกันไว้ลงทุน ล่าสุดคณะกรรมการมีมติปันผลระหว่างกาล 0.25 บาทต่อหุ้นคิดเป็น 4.85% ขึ้นเครื่องหมาย XD 30 ส.ค.64 กำหนดจ่ายปันผลวันที่ 10 ก.ย.64

ธุรกิจหลักของ SPCG คือ Solar Farms เน้นที่พลังงานหมุนเวียน Renewable resource and energy security , ไม่ก่อให้เกิดคาร์บอน มีค่าดูแลรักษาต่ำ ลักษณะที่ลงทุนในปัจจุบัน อยู่ในประเทศไทย 260 MW ในญี่ปุ่นที่ Tottori 30 MW , Ukujima 480 MW

ในประเทศไทยมี Solar Farm ในพื้นที่ภาคอีสาน 9 จังหวัด (นครราชสีมา, สกลนคร, นครพนม, ขอนแก่น, บุรีรัมย์, สุรินทร์, หนองคาย, อุดรธานี, เลย) และในภาคกลางมีในจังหวัดลพบุรีอีก 1 จังหวัด ทุกแห่งจะได้ค่า Adder 8 บาทต่อ KWh เป็นระยะเวลา 10 ปี ได้เริ่มจ่ายไฟให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปี 2014 
สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมาทั้ง 36 Solar farms สามารถผลิตกระแสไฟได้ 385.5 ล้านหน่วย 

ภาพ Solar farm ที่โคราช

ภาพศูนย์การเรียนรู้โซล่าฟาร์ม ที่โคราช

ระบบ Monitoring System ที่แสดงผลค่าพลังงานตลอดเวลาเพื่อให้การทำงานเต็มประสิทธิภาพ

ตามที่ได้ชี้แจงว่าทั้ง 36 Solar farms จะได้ adder 8 บาท/KWh เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งจะหมดสัญญา 1 โครงการในปี 2020 ในปีนี้ 2021 จะมีโครงการที่หมด Adder อีก 4 โครงการ ในปีหน้า 2022 จะหมดอีก 4 โครงการ และอีก 14 โครงการจะหมด adder ในปี 2023 และ 13 โครงการสุดท้ายจะหมด adder ในปี 2024 

ด้านการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น โครงการแรกที่ Tottori 30 MW  ได้ COD ตั้งแต่ปี 2018 
โครงการ Ukujima 480 MW อยู่ระหว่างการก่อสร้าง กำหนด COD ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 
โครงการ Miyako 67 MW เป็นโครงการใหม่ที่บอร์ดผู้บริหารเพิ่งอนุมัติ แบ่งเป็นเฟสเหนือ มีแผน COD ปีนี้ และเฟสใต้จะ COD ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2023 

ภาพการติดตั้งที่ Tottori บริษัทรับรู้รายได้เป็นเงินปันผลทุกปีตั้งแต่ปี 2018 เฉลี่ยประมาณ 6-7%

โครงการ Ukujima Mega Solar มีหุ้นส่วนหลักเป็นพันธมิตรจำนวน 9 บริษัท สำหรับ SPCG ถือหุ้นอยู่ 17.92% รายได้คิดเป็น 40 เยนต่อหน่วยเป็นระยะเวลา 17.25 ปี ผลิตและจำหน่ายให้กับบริษัท Kyushu Electric Power ของญี่ปุ่น 

โดยมีขนาดการลงทุน 5.2 หมื่นล้านบาท (ส่วนของ SPCG 2,630 ล้านบาท) คาดว่าจะรับรู้รายได้เป็นเงินปันผล ในปี 2025 ประมาณ 286 ล้านบาท

สำหรับแผนการนำเงินไปลงทุนในโครงการตามความก้าวหน้าของโครงการ เฟส 1, 2 ลงทุนไปแล้ว 1,268 ล้านบาท และในแผนเดิมต้องลงทุนอีก 41 ล้านบาทในงวดที่ 3 ปี 2020 และงวดที่ 4 ปี 2021 แต่เนื่องจากโควิด19 ทำให้การทำงานล่าช้ากว่ากำหนด คาดว่าจะได้ใช้เงินลงทุน 41 ล้านบาทในงวด 3, 4 ในเดือนตุลาคมปีนี้ และงวดที่ 5 อีก 1,464 ล้านบาทในเดือน มกราคม 2022 



ภาพการดำเนินงานใน Ukujima Mega Solar Project


โครงการ Fukuoka Miyako Mega Solar ที่ได้รับอนุมัติจากบอร์ดให้ลงทุน ในเกาะ Kyushu  กำลังการผลิต 67 MW ฝั่งเหนือ 23 MWคาดว่าจะ COD ในเดือน กรกฎาคมปีนี้ ฝั่งใต้ 44 MW คาดว่าจะ COD ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2023 ใช้เงินลงทุน ประมาณ 7,227 ล้านบาท สำหรับ SPCG ลงทุนประมาณ 10 % ของโครงการหรือ 96.6 ล้านบาท 

ธุรกิจที่สองคือ Solar Power Roof โดยบริษัท SPR ที่ถือหุ้น 100% โดย SPCG โดยใช้แผงของ Kyocera Corporation เป็นหลัก และใช้ Inverter ของ SMA Solar จากเยอรมัน


ธุรกิจ Solar Roof แบ่งลูกค้าเป็น 3 กลุ่มได้แก่ Residential, Commercial, Industrial โดย Residential มีกำลังประมาณ 5 MW, Commercial ติดตั้งไปแล้วไม่น้อยกว่า 50 MW, และ Industrial ติดตั้งไปแล้วไม่น้อยกว่า 100 MW







ภาพตัวอย่างการติดตั้งให้ลูกค้าในบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าไฮเปอร์มาร์ท



ธุรกิจ Solar Roof บริษัทได้ร่วมกับบริษัทลิสซิ่งคือ Mitsubishi UFJ Lease and Finance ร่วมกับบริษัท PEA ENCOM ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดตั้งบริษัท MSEK ที่จะทำ Leasing ให้กับบริษัท Solar Power Roof 



Concept คือการออกแบบ Solar Roof โดยลูกค้าไม่ต้องจ่ายเงินเลย โดยคำนวนเป็นเงินที่ประหยัดได้จาก Solar Roof มาผ่อนเป็นค่า Leasing ให้กับ MSEK ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของลูกค้า น่าจะเป็นโอกาสใหม่ให้กับ Solar Power Roof 


สุดท้ายเป็นธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและบริการของพันธมิตร โดยบริษัท Solar Power Engineering : SPE  เป็นตัวแทนหลังการขายให้กับ SMA Solar ของเยอรมัน ซึ่งเป็นผู้ผลิต Inverter รายใหญ่ของโลก ที่มีคุณภาพระดับสากล 

งบการเงิน บรรยายโดยคุณรุ่งฟ้า ลาภยืนยง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบัญชีและการเงิน
งบการเงินที่สำคัญในไตรมาสนี้ มีผลประกอบการครึ่งมีแรกมียอดขาย 2,340.6 ล้านบาท ลดลง 10% YoY โดยสาเหตุหลัก 2 ปัจจัย มาจาก
1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ยอดขายของ Solar Roof ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 
2. และธุรกิจ Solar Farm 3 แห่งที่หมด Adder ราคา 8 บาทต่อหน่วยไปแล้ว 

ในส่วนของกำไรขั้นต้น GPM ลดลงมาอยู่ที่ 1,739.7 ล้านบาท ลดลง 7% YoY กำไรสุทธิ NPM ลดลงไปอยู่ที่ 1,483.6 ล้านบาท ลดลง 6%

ทั้งนี้บริษัทได้รับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์ไวรัส Covid-19 และระยะเวลา Adder ที่ทะยอยหมดลง ได้มีการวางกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ ต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้ Cost ลดลง 69 ล้านบาท รวมถึงต้นทุนทางการเงินที่ลดลงด้วย ทำให้ GPM และ NPM ลดลงในสัดส่วนที่ต่ำกว่าอัตรารายได้ที่ลดลง 

สถานะทางการเงิน มีสถานะทรัพย์สิน Total Asset เพิ่มขึ้นจากต้นปี 2020 ประมาณ 2,000 ล้านบาท หลักๆ มาจากการลทุนซื้อที่ดินใน EEC เพื่อใช้ในการก่อสร้าง โครงการ Solar Farm แห่งใหม่ในอนาคต 
สัดส่วนหนี้สิน (ผู้บรรยายไม่ได้กล่าวถึง แต่มีในสไลด์) มีหนี้สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากหนี้สินระยะสั้นจากธนาคาร สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิ 1,483.6 ล้านบาทและจากเงินปันผลจ่าย 816.9 ล้านบาท

อัตราส่วนทางการเงิน
หนี้สินต่อทุน Debt to Equity (D/E) 0.27x ลดลงจากปี 2020 (2020 @0.39x)
ROA ลดลงจาก 15.1% ปี 1H2020 มาอยู่ที่ 14.3% 1H2021
ROE ลดลงจาก 20.0% 1H2020 มาอยู่ที่ 17.5% 1H2021 
สาเหตุที่ ROA และ ROE ลดลงมาจากการลดลงของกำไรสุทธิ



เป้าหมายในปี 2021 ยังคงเป้าหมายยอดขายที่ไม่น้อยกว่า 5,500 ล้านบาท โดยคาดการณ์ว่า Covid-19 น่าจะดีขึ้นในครึ่งปีหลัง 
คงเป้าหมายการผลิตจาก 36 Solar Farm อยู่ที่ 385 ล้านหน่วย ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง 
บริษัทยังคงขยายการลงทุนในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะในญี่ปุ่น 


การถามตอบ  Q&A 
Q: ถ้าหมด Adder แล้วทั้ง 36 โครงการในปี 2024 จะมีรายได้เหลือปีละเท่าไหร่
A: เหลือปีละประมาณ 1,300 ล้านบาท ถึง 1,500 ล้านบาท 

Q: บริษัทมีโครงการที่จะมาทดแทนรายได้ที่หายไปขนาดไหน
A: จะมีการลงทุนใน EEC และการลงทุนในญี่ปุ่นที่จะมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ 

Q: ไตรมาสที่ 3 จะเติบโตจากไตรมาสที่ 2 ได้หรือไม่จากอะไร
A: ธุรกิจ Solar Farm น่าจะดีขึ้นจาก ฤดูกาล ค่าพลังงานยังใกล้เคียงจากที่หวังไว้ สำหรับ Solar Roof สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ยังมีการชะลอการลงทุนจาก Covid-19 สำหรับการลงทุนในญี่ปุ่นยังเป็นไปตามแผน เพียงแต่อาจจะมีความล่าช้าบ้าง การรับรู้รายได้จะคงเป้าไว้ที่ปี 2023 เป็นหลัก

Q: การลงทุนในครึ่งปีหลัง มีหรือไม่ ใช้เงินเท่าไหร่ 
A: ยังไม่มีอัพเดตเพิ่มเติม มีเพียงโครงการ Miyako ที่ได้ชี้แจงไปแล้ว ใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท  และโครงการ Ukujima ที่จะมีการ Inject เงินอีกประมาณ 40 ล้านบาท

Q: วางเป้าหมายปีนี้จะเติมโตจากปีก่อนอย่างไร มีปัจจัยใดหนุนบ้าง 
A: คงเป้าไว้ที่ 5,000 - 5,500 ล้านบาท จะเหนื่อยจาก Solar Roof บ้าง จะไปเพิ่มกลยุทธ์ในส่วน Leasing แต่ก็จะมีปัญหาจากการวิเคราะห์เครดิตกับลูกค้า จากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้การอนุมัติสินเชื่อลูกค้ามีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง

Q: วางเป้าหมายติดตั้ง Solar Roof ปีนี้เท่าไหร่ และมีลูกค้าอยู่ในมือกี่ MW 
A: เดิมทีเป้าหมายต้นปี ยอดขายอยู่ 500 - 800 ล้านบาท ปัจจุบันมีลูกค้าไม่ต่ำกว่า 20 รายเป็นอย่างน้อย เพียงแต่ว่าเป็น Leasing ประมาณ 70-80% ซึ่งการวิเคราะห์เครดิตทำให้การตัดสินใจให้สินเชื่อลูกค้า อาจจะต้องใช้ระยะเวลานิดนึง ส่วนลูกค้าที่ติดตั้งโดยไม่ได้ใช้สินเชื่ออาจจะตัดสินใจติดตั้งในช่วงปลายไตรมาส 3 ,4 ประมาณนั้น 

Q: บริษัทมีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการรับมือกับ Adder ที่ทะยอยหมดไปอย่างไรบ้าง
A: มีการลดต้นทุน ในส่วนค่าใช้จ่ายที่ปรับลดได้ พัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ปรนนิบัติบำรุงให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงเดิม สำหรับในระยะยาว พยายามขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้กำไรใกล้เคียงเดิม

Q: 36 Solar Farm ปกติเฉลี่ยผลิตไฟฟ้าได้กี่หน่วย ถ้าเพิ่มกำลังการผลิต 385 ล้านหน่วย รายได้จะชดเชยรายได้ที่หายไปจาก Adder ที่กำลังจะหมดหรือไม่
A: ปกติปีนึงเคยผลิตได้ถึง 390 ล้านหน่วย โดยประมาณ เป้าหมายที่ 385 ล้านหน่วยทำได้แน่นอน และเราพยายามพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนกรณี Adder หมดต้องยอมรับว่ารายได้ต้องลดลงด้วย แต่เราพยายามบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ

Q: มีบริษัทที่ทำ Solar Roof เหมือนกันกี่บริษัท และบริษัทเป็นผู้เล่นในอันดับที่เท่าไหร่ในแง่ของยอดขาย
A: ในตลาดมีผู้ประกอบการที่ทำ Solar Roof มากพอสมควร ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการแต่ละรายก็แตกต่างกัน เราไม่ได้ลงไปแข่งขันด้านราคา เราพยายามหาช่องทางสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้าเป็นหลัก เช่นการติดตั้งแล้วลดต้นทุนการผลิต ได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามุ่งเน้นพัฒนาให้ลูกค้าได้ประโยชน์เป็นหลัก


สรุป อนาคตของ SPCG มีโอกาสจากการลงทุนเพิ่มเติมใน EEC และ โครงการในญี่ปุ่น แต่มีความเสี่ยงในการที่จะหมด Adder จาก 36 Solar Farm ในประเทศ และ Solar Roof ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 

ข้อมูลเพิ่มเติม
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย 13,961 บัญชี สัดส่วน 34.00% (@17 มี.ค. 2564)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก(@17 มี.ค. 2564) จำนวนหุ้น %
1. น.ส. วันดี กุญชรยาคง 298,950,000 28.32
2. UBS AG SINGAPORE BRANCH 95,200,050 9.02
3. GULF INTERNATIONAL INVESTMENT (HONG KONG) LIMITED 91,150,952 8.63
4. บริษัท มิตซู เพาเวอร์ กรุ๊ป จำกัด 81,800,000 7.75
5. Kyocera Corporation 63,500,000 6.01
6. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 46,227,326 4.38
7. นาง ประคอง กุญชรยาคง 31,850,000 3.02
8. น.ส. สมปอง กุญชรยาคง 22,250,237 2.11
9. นาย วิทูร มโนมัยกุล 19,290,000 1.83
10. STATE STREET EUROPE LIMITED 15,861,680 1.50

งบการเงิน 1H2021
งบแสดงฐานะทางการเงิน

บริษัทมีสินทรัพย์รวม 23,459.35 ล้านบาท (สินทรัพย์หมุนเวียน 3,979.68 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 19,479.67 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วซึ่งมีสินทรัพย์ 21,718.19 ล้านบาท

หนี้สินรวม 5,010.88 ล้านบาท ( หนี้สินหมุนเวียน 3,007.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในส่วนของเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืม ถึง 1,000 ล้านบาท ส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนมี 2,003.76 ล้านบาท) เป็นตัวเลขที่ไม่ค่อยดีนัก เพราะหนี้ระยะยาวลดลง แต่หนี้ระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น อาจจะทำให้ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น ต้องระวัง

บริษัทยังคงมีกำไรสะสม 10,853.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่มี 10,202.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 600 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น 15,912.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่มี 15,221.18 ล้านบาท

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

รายได้จากการดำเนินธุรกิจ 1H2021 (มีรายได้ 2,360.57 ล้านบาท) ลดลงจาก 1H2020 (มีรายได้ 2,629.17 ล้านบาท)

ต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1H2021 (770.54 ล้านบาท) น้อยกว่า 1H2020 (ต้นทุนและค่าใช้จ่าย 915.65 ล้านบาท)

กำไรสุทธิ 1H2021 1,337.14 ล้านบาท หรือ 1.30 บาทต่อหุ้น น้อยกว่า 1H2020 (1,412.28 ล้านบาท หรือ 1.45 บาทต่อหุ้น)

งบกระแสเงินสด

บริษัทมีเงินสดจากการดำเนินงานใน 1H2021 2,118.39 ล้านบาท  (บริษัทดำเนินงานแล้วมีเงินสดเข้าบริษัท ดี)

บริษัทมีการลงทุนเพิ่มทำให้กระแสเงินสดลด -2,947.00 ล้านบาท (บริษัทมีการลงทุน น่าจะมีอนาคตที่ดี)

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน 197.38 ล้านบาท (ต้องไปดูในรายละเอียดว่าได้มาจากไหน ถ้าบริษัทลูกปันผลมาให้ก็เป็นการดี แต่ถ้าเป็นการกู้ยืมมาก็ไม่ดี)

บริษัทมีเงินสดสุทธิลดลง -631.23 ล้านบาท

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.32
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 17.51
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 14.33
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.27
อัตราส่วนหมุนเวียนทรัพย์สิน (เท่า) 0.21
อัตรากำไรขั้นต้น (%) 73.70
EBIT Margin (%) 68.12
อัตรากำไรสุทธิ (%) 61.39



COD : Commercial Operation Date วันจ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์ 
Share on Google Plus

About Aka

0 comments:

Post a Comment