หลังจากที่ได้ร่างรัฐธรรมนูญกันมา สองเดือนกว่า เมื่อวันที่ 29 ม.ค.59
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้เปิดเผยร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น
ผ่านทางเว็บไซต์รัฐสภาไทย
www.parliament.go.th มี จำนวน 270 มาตรา 15 หมวด
รวมบทเฉพาะกาล มีหมวดหลักๆ ได้แก่ การเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว.
ทั้งนี้นายมีชัย แถลงว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
มีกลไกป้องกันการทุจริต
ป้องกันไม่ให้คนทุจริตเข้าสู่อำนาจเพื่อให้การเมืองไม่ใช่เป็นที่ฟอกตัวของคนที่เคยทำผิด
จึงใช้หลักเดียวกับหลักที่ใช้กับผู้ใหญ่บ้าน ใครทำผิดบางอย่างที่รุนแรง ศาลตัดสินว่ามีความผิด
คนเหล่านั้นจะกลับมาเป็น ส.ส.ไม่ได้
คณะรัฐมนตรีต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยซื่อสัตย์สุจริต
เปิดเผย ใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังซึ่ง
สตง.จะเป็นผู้ดูแลไม่ได้เพิ่มอำนาจจากที่เคยมีอยู่
เพียงแต่กำหนดกระบวนการไว้ให้ชัดเจนว่าอย่างไรเป็นเรื่องทุจริต อะไรไม่สมควรทำ
โดยเนื้อหาสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ส.ว.มีอำนาจหน้าที่การถอดถอนนักการเมืองตั้งแต่มีส.ว.มาทั้งแบบแต่งตั้งทั้งหมด-เลือกตั้งทั้งหมด-มีทั้งสองแบบ
ก็ยังไม่เคยมี ส.ว.ชุดใดทำได้ส.ว.ชุดใหม่ จำนวน 200 คน
ต้องปราศจากการแทรกแซงจากนักการเมืองมากที่สุด ปรับแนวคิดมิให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกวุฒิสภา
ตกอยู่ภายใต้อาณัตินักการเมือง หรือ มิให้มาจากการสรรหาเพื่อมิให้ถูกมองว่า
อาจสรรหาโดยไม่เป็นธรรม
ที่มาของ สมาชิกวุฒิสภา จำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม จำนวน
20 ด้าน
เลือกกันเองตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ
โดยต้องไม่ดำรงตำแหน่งต่าง
ๆ (ทางการเมือง) เป็นเวลา 10 ปี (จากเดิม 5 ปี) เพื่อมิให้มีส่วนได้เสียจากตำแหน่งในอดีต
และปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง และกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยการกระทำของ
สว. ได้
ระบบเลือกตั้งแบบ"จัดสรรปันส่วนผสม”(ฉบับสมบูรณ์)
มุ่งเน้นการพยายามทำให้
“ทุกคะแนนที่ประชาชนลงเลือกตั้งจะไม่ถูกทิ้ง” ระบบการเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวนี้ ประชาชนสามารถใช้สิทธิได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อน และจะรู้สึกว่า คะแนนทุกคะแนนมีความหมาย
(คะแนนของตนจะไม่เสียเปล่า) โดยผลการเลือกตั้งจะเป็นการเลือก ส.ส.
แบบแบ่งเขต และจะมีผลต่อจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อด้วย สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 500 คน โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350
คน เป็นจำนวนที่ให้ความสำคัญกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องเป็นผู้แทนในเขตพื้นที่ของประชาชน
ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงของประชาชนที่ไม่ประสงค์เลือก
(โนโหวต) ขณะเดียวกัน
เพื่อให้คะแนนของประชาชนมีความหมายด้วยการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ
"จัดสรรปันส่วนผสม" จึงกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน
150
คน ซึ่งมีที่มาจากการจัดสรรคะแนนที่ประชาชนเลือกพรรคต่าง
ๆ ทั้งประเทศ
การจัดบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
กำหนดให้เป็นบัญชีรายชื่อบัญชีเดียวทั้งประเทศ ทำให้สัดส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อไม่กระจุกตัวเฉพาะภายในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดใหญ่เท่านั้น
กำหนดคุณสมบัติอายุของผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ที่มานายกรัฐมนตรี
พรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคจะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ภายในวันสมัครรับเลือกตั้ง ไม่เกิน 3 รายชื่อ
ด้านพรรคเพื่อไทย
ได้ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยกับ ร่างรัฐธรรมนูญ 6 ข้อ สรุปสาระสำคัญคือ
1. ระบบเลือกตั้ง นำไปสู่การมีรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ
เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาประเทศ
2. ระบบเลือกตั้งใหม่จะนำไปสู่ความอ่อนแอของพรรคการเมือง
การต่อรองทางการเมือง และการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิใช่ส.ส.เป็นนายกรัฐมนตรี
3. เพิ่มอำนาจ ให้ศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนฝ่ายการเมือง มากเกินไป
4. ให้องค์กรอิสระ (กกต. , ปปช. , สตง.) มีอำนาจเหนือรัฐบาลและรัฐสภา
ทำให้รัฐบาลและรัฐสภาขาดความเป็นอิสระในการบริหารราชการแผ่นดิน
5. การให้ ส.ว. ทั้งหมดมาจากการสรรหา
ไม่เคารพในสิทธิของประชาชนที่จะเลือกผู้แทนของตนเอง
6.
กำหนดกลไกการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำให้ไม่อาจแก้ไขได้เลย
จะทำให้เกิดปัญหาวิกฤตรัฐธรรมนูญขัดขวางการพัฒนาการเมือง
ด้านพรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
(ปชป.) กล่าวว่า มีทั้งส่วนดีและต้องปรับปรุง ส่วนที่เป็นข้อดีและเห็นควรสนับสนุน
คือการทุจริตต้องห้ามเล่นการเมืองตลอดชีวิต รวมถึงกลไกการปราบปรามการทุจริต
เพิ่มอำนาจองค์กรอิสระ และกลไกศาลรัฐธรรมนูญเป็นทางออกแก้วิกฤติการเมือง ประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
คือ เรื่องระบบเลือกตั้งที่ใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม
ถือเป็นการถูกบังคับให้ลงคะแนนเดียว แต่ได้ สส.2 ระบบ ส่วนที่มานายกฯ ที่ให้พรรคยื่น
3 รายชื่อ
โดยไม่จำเป็นต้องเป็น สส.เป็นการจำกัดทางเลือกของประชาชน
สำหรับความคิดเห็นของประชาชน "สวนดุสิตโพล"
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,338 คน
กรณี การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ สำรวจระหว่างวันที่ 26 - 30
ม.ค.59 สรุปได้ว่า ประชาชนร้อยละ 41.42 จะไปลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 37.67 ยังรอดูก่อน อาจติดธุระ
สถานการณ์ทางการเมืองไม่แน่นอน ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 20.91 ไม่ไป เพราะ ต้องไปทำงาน ลางานไม่ได้
ไม่สะดวกในการเดินทาง
การที่ประชาชนจะ "รับร่าง"
รัฐธรรมนูญ หรือ "ไม่รับร่าง" รัฐธรรมนูญนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.11 จะฟังจากกระแสสังคมและเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน
ร้อยละ 79.52 พิจารณาจากเนื้อหาครอบคลุม ชัดเจน เข้าใจง่าย เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
มีความเป็นธรรม
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ยังมีความเห็นต่างในหลายประเด็น
ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตัดสินใจในการรับร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากที่ผ่านมาการร่างรัฐธรรมนูญมีประเด็นที่สร้างความขัดแย้งมาโดยตลอด
มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และประชาชนตัดสินใจลำบาก
เนื่องจากไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน ยังคงรอฟังกระแสสังคมหรือการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รู้หลายๆท่าน
ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล เอกชน ผู้นำชมชน ผู้นำองค์กร ต่าง ๆ ควรช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญ
และไปลงประชามติให้มากที่สุด รวมทั้งสนับสนุนการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนจะศึกษาให้เกิดความเข้าใจ
และเสนอความเห็นที่ต้องการให้มีการปรับแก้ ให้ กรธ.นำไปทบทวน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง ในการลงประชามติ
0 comments:
Post a Comment