Politics Military Economy Social Information and Infrastructure, Article and Analysis.

Snow Eagle 601 กับภารกิจบินขนส่งทีมวิจัยใน Antarctica ของจีน

ประเทศจีนก้าวเข้าสู่การเป็นมหาอำนาจของโลกทางด้านการวิจัยและพัฒนาอีกขั้นด้วยการมีสถานีวิจัยในทวีป Antarctica ถึง 5 แห่งด้วยกัน 
Chinese Zhongshan Station
Chinese Kunlun Station
Chinese Great Wall Station
Chinese Arctic Yellow River Station
Chinese Antarctic Taishan Station
สำหรับผู้สนใจความรู้ต่างๆใน Antarctic เข้าไปค้นคว้าหาข้อมูลกันได้ที่ http://www.polar.gov.cn/en/ นะครับ

และล่าสุดเมื่อปลายเดือน พ.ย.58 ที่ผ่านมา ก็ประสบความสำเร็จในการทดลองเดินทางสู่สถานีวิจัยในทวีป Antarctica ทางอากาศด้วยเครื่องบินแบบ Basler BT67 ที่ชื่อว่า Snow Eagle 601 หรือ “Xueying” ในภาษาจีน ซึ่งทีมวิจัยวางแผนจะนำมาใช้ในภารกิจขนส่งทีมวิจัย เสบียง สิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบ ๆ สถานีวิจัย Zhongshan Station ในระยะทางประมาณ 1,300 กม. และขนส่งระหว่างสถานีวิจัย Zhongshan Station กับสถานี Kunlun Station ของจีน และสถานีวิจัยของประเทศอื่นๆที่อยู่ใกล้ๆกันด้วย
ภาพจาก http://defence-blog.com


เจ้า Snow Eagle 601 สามารถบินด้วยความเร็วสูงสุดที่  380 กม./ชม. ด้วยน้ำหนักบรรทุกสูงสุดถึง 5,900 กิโลกรัม ซึ่งจะมีการติดตั้งอุปกรณ์การวิจัยไปด้วยเช่น ระบบ ice radar system, Airborne gravimetre, Airborne magnetometre และ laser-radar system

Snow Eagle 601 จะดำเนินการโดย Kenn Borek Air ของประเทศ Canada เนื่องจากจีนยังไม่มีประสบการณ์ในการเดินทางในลักษณะนี้  การเดินทางครั้งแรกขึ้นบินจากประเทศ Canada เมื่อวันที่ 15 พ.ย.58 บินข้ามทวีปอเมริกาใต้ และลงจอดครั้งแรกที่สถานีวิจัย Rothera Research Station ของอังกฤษ จากนั้นจะบินไปยังสถานีวิจัย Zhongshan Station ด้วยการแวะพักที่ Amundsen-Scott South Pole Station ของอเมริกา และบินไปยังสถานีวิจัย Kunlun Station
ภาพจาก http://defence-blog.com/
VDO ของคุณ Scott Expedition ให้เห็นบรรยากาศของการเดินทางด้วย BT67 สู่ทวีป Antarctica  แต่ในคลิปเป็นการเดินทางจากชิลี นะครับ


พัฒนาการในครั้งนี้จะทำให้ การขนส่งสำหรับงานวิจัยของจีนใน Antarctic ทำได้รวดเร็วขึ้น การค้นหาทางวิทยาศาสตร์ การช่วยเหลือฉุกเฉินและการกู้ภัย ก็จะทำได้รวดเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน 


กล่าวถึง Basler BT-67 แล้วเป็นอากาศยานปีกติดลำตัว ที่ผลิตโดย  Basler Turbo Conversions เมือง Oshkosh รัฐ Wisconsin สหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างจากโครงสร้างเดียวกันกับ Douglas DC-3 ด้วยการปรับปรุงการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น ใส่เครื่องยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่าง Pratt & Whitney Canada PT6A-67R turboprop ขยายพื้นที่ห้องโดยสาร/บรรทุก ปรับปรุงโครงสร้างให้แข็งแรงขึ้น อัพเกรดระบบการเดินอากาศ และปรับปรุงระบบปีก 
การอัพเกรดเครื่องยนต์ ทำให้การบริโภคน้ำมันของ BT-67 มากกว่าต้นฉบับอย่าง DC-3 หากใช้ถังน้ำมันขนาดเดิม ที่มีสำรอง 45 นาที จะลดลงจาก 2,150 กม. เหลือ 1,760 กม. Basler จึงเพิ่มขนาดถังน้ำมันให้บินได้ถึง 3,960 กม.
Basler bt67 antarctica
By Timothy Smith - Tas50 (Own work) Balser BT67 ของ Kenn Borek Air 
By Towpilot (Own work) DC3 สายการบิน Scandinavian airline
ประเทศไทยเองก็มีใช้ในสายการบินพาณิชย์บางแห่ง และมีประจำการในกองทัพอากาศด้วยนะครับ
By Takeaway (Own work) ฺBT67 ในภารกิจขนส่งทางอากาศของกองทัพอากาศไทย

อ้างอิง 
http://www.china.org.cn/china/2015-09/25/content_36682868.htm
http://www.cctv-america.com/2015/12/07/chinas-first-polar-airplane-conducts-successful-trial-flight
http://defence-blog.com/news/chinas-snow-eagle-601-first-polar-airplane-conducts-successful-trial-flight.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Basler_BT-67
Share on Google Plus

About Aka

0 comments:

Post a Comment